Data Analytics

เพื่อการส่งออก

ข้อมูลเป็นทรัพยากรที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนธุรกิจ หากองค์กรสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์หรือความเชื่อมโยงได้นั้น จะทำให้สามารถปรับปรุงการดำเนินธุรกิจ หรือวางแผนการตลาด เพื่อชิงความได้เปรียบจากคู่แข่งได้ ในบทความที่แล้วเราได้ทำความรู้จัก Data Science ไปแล้ว จะเห็นได้ว่า Data Science มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจหลายภาคส่วน วันนี้จะมาแนะนำอีกหนึ่งวิธีการสำคัญในการจัดการข้อมูล นั่นก็คือ Data Analytics วิธีการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยด้านธุรกิจหรือวัตถุประสงค์อื่น ๆ ตามที่ต้องการ

การทำ Data Analytics เพื่อการส่งออก เป็นกระบวนการที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ เนื่องจากธุรกิจการส่งออก ถือเป็นธุรกิจที่เผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายอยู่เสมอ ดังนั้นการนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก เช่น ปริมาณการส่งออก ราคาสินค้าส่งออก อัตราแลกเปลี่ยน และสถานการณ์โลก เป็นต้น มาทำการวิเคราะห์เพื่อหาข้อมูลเชิงลึกหรือความสัมพันธ์ของข้อมูล จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการส่งออกให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุดได้ เช่น การนำข้อมูลปริมาณการส่งออกอาหารสำเร็จรูปมาทำการวิเคราะห์เบื้องต้นพบว่า ปริมาณการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละเดือน แม้อยู่ในช่วงสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งผู้ประกอบการก็สามารถคาดเดาต่อไปได้ว่าอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น อุปสงค์ในประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้บริโภคต้องการกักตุนสินค้า หรือในบางประเทศเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เศรษฐกิจจึงฟื้นตัวเร็วกว่าประเทศอื่น ทำให้มีความต้องการสินค้าสูง เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการผลิต ควบคุมคุณภาพของสินค้า รวมทั้งเพิ่มปริมาณผลผลิตให้เพียงพอต่อการส่งออกได้

นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังสามารถทำ Data Analytics ในการวิเคราะห์เชิงลึกขึ้น เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลแบบพยากรณ์ (Predictive Analytics) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบหนึ่ง โดยนำข้อมูลที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีตมาพยากรณ์สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้แบบจำลองทางสถิติ หรือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ต่าง ๆ (Artificial intelligence) เช่น การพยากรณ์ราคา การพยากรณ์ปริมาณการส่งออก เป็นต้น ซึ่งอาจจะวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อความแม่นยำของผลลัพธ์ เช่น อุณหภูมิ ปริมาณฝน หรือข้อมูลการเงินอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งผลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการเตรียมความพร้อมด้านการผลิตและการส่งออกให้เหมาะสมได้

ธุรกิจการส่งออก นับว่าเป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย เพราะเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้จำนวนมากเข้าสู่ประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยให้มีอัตราการขยายตัว อย่างไรก็ตามภาคการส่งออกต้องเผชิญกับความท้าทายอยู่เสมอ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องบริหารจัดการความเสี่ยงและเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งการทำ Data Analytics ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการผลิตและการส่งออกให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดต่อไป

Digital Storemesh ได้พัฒนา Data Platform ที่มีความสามารถในการจัดการข้อมูลที่รอบด้านและครอบคลุมตลอดวัฎจักรของข้อมูล (Data Lifecycle) ประกอบไปด้วยซอฟต์แวร์เพื่อการบริหารข้อมูลแบบครบวงจร เช่น ซอฟต์แวร์บริหารธรรมาภิบาลข้อมูล ที่ประกอบด้วยโมดูล Data Analytic สำหรับนำเข้า เชื่อมต่อ ประมวลผลข้อมูลจากแหล่งภายในและภายนอก พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและทีมงานคุณภาพที่พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างโอกาสทางธุรกิจต่อไป

ที่มา :

Frequently Asked Questions – Data analytics

https://www.nuttaputch.com/4-types-of-data-analytics-adobe/


โดย : สิริภัทร อิ่มสอาด