Strategic Planning
แพลตฟอร์มที่รับทราบปัญหาของประชาชนสู่การสร้างแผนงานที่ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร เศรษฐกิจ การศึกษา และคุณภาพชีวิต ปัญหาเหล่านี้ล้วนมีความซับซ้อนและส่งผลกระทบต่อประชาชนไทยในวงกว้าง
สถานการณ์ปัจจุบันชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่หน่วยงานภาครัฐต้องเร่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ มุ่งสู่เป้าหมายการสร้าง “เศรษฐกิจดิจิทัลที่มีพลวัต บนฐานของสังคมรู้คิด รู้เท่าทัน และกำลังคนที่สามารถปรับตัว รวมถึงสร้างโอกาสจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล” เป็นเหตุให้ต้องพัฒนาระดับความสามารถในการแสดงความคิดเห็นต่อนโยบาย โดยเพิ่มการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมที่ช่วยให้ภาครัฐสามารถปรับแผนการดำเนินงานและขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาศัยมุมมองและความคิดเห็นของประชาชนจากช่องทางออนไลน์ เช่น สื่อ Social Media หรือแหล่งข้อมูลจากสำนักข่าวต่าง ๆ
Strategic Planning คือ แพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับวางแผนยุทธศาสตร์และนโยบาย ซึ่งเกิดจากเทคโนโลยีการรวบรวม จัดเตรียม และนำเสนอข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการบริหารงานของภาครัฐ โดยใช้เทคโนโลยี Social Analytics ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Ai) ซึ่งสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาในแต่ละพื้นที่จากการรับฟังเสียงของประชาชนผ่าน Social Media รวมถึงงานวิจัยจาก google scholar เพื่อสร้างแผนงานสำหรับการพัฒนาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และ เป้าหมาย SDGs ทั้งยังครอบคลุมไปถึงปัญหาในภาคการเกษตร เศรษฐกิจ การศึกษา และคุณภาพชีวิต ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
แพลตฟอร์ม Strategic Planning จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐมองเห็นภาพรวมของสถานการณ์จากข้อมูลใน Social Media และแหล่งข่าวอื่น ๆ จากอินเทอร์เน็ต รวมทั้งแผนนโยบายของหน่วยงานในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ โดยจะแสดง Keyword of problem หรือคำสำคัญซึ่งผ่านการคัดกรองมาจากข่าว รวมถึงโพสต์ทาง Social Media ของประชาชน (Problem Topic) พร้อมทั้งแสดง Challenge ที่จะช่วยแนะนำ Plan หรือแนวทางการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และนโยบายพัฒนาประเทศ
แพลตฟอร์มที่รับทราบปัญหาของประชาชนสู่การสร้างแผนงานที่ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ลักษณะการใช้งาน
Strategic Planning ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยวิเคราะห์ปัญหาและนำเสนอแนวทางการพัฒนา โดยมีลักษณะการใช้งาน ดังนี้
1. การค้นหาปัญหาสำคัญ
ผู้ใช้สามารถค้นหาปัญหาสำคัญได้โดยใช้ตัวกรองจังหวัดและช่วงเวลา
ระบบจะแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบประโยคตามที่ได้ประมวลผลไว้
ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจถึงปัญหา (Pain) ที่ประชาชนในพื้นที่เผชิญอยู่ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกดึงมาจากความคิดเห็นใน Social Media
2. การวิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหา
ผู้ใช้สามารถอ่านบทวิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหา พร้อมเอกสารอ้างอิงได้
ระบบใช้เทคนิคการประมวลผลภาษาธรรมชาติเพื่อวิเคราะห์ข้อความและตั้งโจทย์
ผลลัพธ์ที่ได้จะแสดงถึงความท้าทาย (Challenge) ของพื้นที่นั้น ๆ
3. การวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างความท้าทายและนโยบาย
ผู้ใช้สามารถศึกษาความสอดคล้องระหว่างความท้าทายของพื้นที่กับนโยบายที่เกี่ยวข้อง
ระบบจะเสนอแผนยุทธศาสตร์ชาติ และตัวชี้วัด SDGs ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยในการสร้างข้อเสนออย่างมีประสิทธิภาพ
4. การศึกษาแนวทางการพัฒนา
ผู้ใช้สามารถศึกษาแนวทางการพัฒนาหน่วยงานจากรายการข้อเสนอแนะที่ระบบสร้างให้
ข้อเสนอแนะ (Proposal) ทั้งหมดในระบบเกิดจากการวิเคราะห์ความคิดเห็นของประชาชนในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ได้เป้าหมายการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการและตอบโจทย์ปัญหาของประชาชน
5. การมีส่วนร่วมของประชาชน
ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็น เสนอมุมมอง และเข้าใจถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ พื้นที่ของตน โดยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเสนอแนะต่อข้อเสนอในระบบ
คุณสมบัติของ Strategic Planning
Strategic Planning ได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐในการจัดทำแผนพัฒนา มุ่งสร้างเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการตัดสินใจ โดยประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญ ดังนี้
สำหรับหน่วยงานภาครัฐและผู้ที่เกี่ยวข้อง
Follow the Situation: ติดตามสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น
Find Challenge: แสดงบทวิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหาพร้อมเอกสารอ้างอิง ด้วยการประมวลผลภาษา เพื่อตั้งโจทย์และสรุปความท้าทาย
Explore Strategy: นำเสนอแผนยุทธศาสตร์ชาติ และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยกำหนดเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
Generate Proposal: สร้างข้อเสนอสำหรับการพัฒนาโดยวิเคราะห์สภาพปัญหาจากความคิดเห็นของประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับประชาชนทั่วไป
Follow the Situation: ติดตามสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น
Find Proposal: ค้นหาข้อเสนอสำหรับการพัฒนา โดยสามารถระบุภูมิภาคหรือจังหวัดที่ต้องการค้นหาในช่อง Location ระบุช่วงเวลาในช่อง Date Time และระบุประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษาในช่อง Topic
Learning and development: ศึกษาแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อเข้าใจบริบท ปัญหา และความต้องการในแต่ละท้องถิ่น
Expressing opinions: ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อข้อเสนอสำหรับการพัฒนา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการในแต่ละท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลและเมทาดาตาที่พร้อมสำหรับการใช้งาน
ข้อมูลและเมทาดาตาที่พร้อมสำหรับการใช้งาน โดยประกอบด้วย
ข้อมูลสภาพเศรษฐกิจรายจังหวัด จำนวน 115,658 บทความ
ข้อมูลการจัดทําแผนยุทธศาสตร์หน่วยงานรัฐ จำนวน 9,800 บทความ
ข้อมูลจาก Facebook จำนวน 8,016,456 ข้อความ
ข้อมูลจาก Twitter จำนวน 1,345,224 ข้อความ
ข้อมูลจาก Instagram จำนวน 7,881,476 ข้อความ
ข้อมูลจาก Youtube จำนวน 8,050,512 ข้อความ
ข้อมูลจาก Pantip จำนวน 5,545,437 ข้อความ
ชุดข้อมูลจากข่าว จำนวน 75,000 บทความ
ข้อมูลเศรษฐกิจนานาชาติ จำนวน 137,441 เอกสาร
ข้อมูลนโยบายหน่วยงานนานาชาติ จำนวน 7,100 เอกสาร
ประโยชน์ของ Strategic Planning
1. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากหลากหลายแหล่ง
Strategic Planning รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ อาทิ Social Media กระดานข่าว และงานวิจัย โดยใช้เทคโนโลยี Social Analytics และปัญญาประดิษฐ์ (AI) วิเคราะห์ความคิดเห็น เสียงสะท้อน และปัญหาที่ประชาชนเผชิญอยู่ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งสามารถช่วยให้หน่วยงานภาครัฐเข้าใจสถานการณ์ปัญหาได้อย่างลึกซึ้ง ตรงประเด็น และครอบคลุม
2. ค้นหาต้นเหตุของปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
แพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลไม่เพียงแค่แสดงผลลัพธ์ แต่ยังเจาะลึกไปถึงต้นเหตุของปัญหาด้วยเทคนิคการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) วิเคราะห์ข้อความ ค้นหาความเชื่อมโยง และสรุปประเด็นสำคัญ ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐเข้าใจถึงต้นตอของปัญหา นำไปสู่การออกแบบแนวทางแก้ไขที่ตรงจุดอย่างชัดเจน
3. เชื่อมโยงข้อมูลกับแผนยุทธศาสตร์และนโยบาย
Strategic Planning เชื่อมโยงข้อมูลที่วิเคราะห์ได้กับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ตัวชี้วัด SDGs และนโยบายที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถออกแบบแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมายระดับประเทศ มุ่งสร้างความยั่งยืน และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
4. ระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชน
Strategic Planning เปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็น เสนอมุมมอง และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดแนวทางการพัฒนา ช่วยให้หน่วยงานภาครัฐรับรู้ข้อมูลเชิงลึกจากประสบการณ์และความต้องการของประชาชน นำไปสู่การออกแบบข้อเสนอสำหรับการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทพื้นที่ในแต่ละท้องถิ่น
Strategic Planning แพลตฟอร์มที่รับทราบปัญหาของประชาชน สู่การสร้างแผนงานที่ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน สามารถใช้งานระบบได้ที่https://www.strategic.cis.tu.ac.th/public
หากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
อีเมล : contact@storemesh.com
หมายเลขโทรศัพท์ : 02-147-0789