ทำความรู้จัก 'Workflow' ระบบจัดการกระแสงาน

ช่วยลดทั้งกระดาษ ลดทั้งเวลาการทำงาน

 Workflow ระบบจัดการกระแสงานที่จะช่วยให้องค์กรของคุณจัดการเอกสารได้อย่างรวดเร็ว โดยลดเวลาการทำงานถึง 80% พร้อมทั้งลดปริมาณเอกสารกระดาษ ตอบโจทย์การเป็นองค์กรดิจิทัล


เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล องค์กรต่างต้องปรับตัวด้วยการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในกระบวนการทำงาน (Digital Transformation) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การเปลี่ยนจากการใช้เอกสารรูปแบบกระดาษมาเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการทำ Digital Transformation ทว่าผลสำรวจจากสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล พ.ศ.2563 กลับพบว่า หน่วยงานภาครัฐมากกว่าร้อยละ 90 ยังมีความจำเป็นที่จะต้องรับส่งเอกสารราชการแบบกระดาษควบคู่ไปกับแบบดิจิทัล เนื่องจากยังไม่มีนโยบายเรื่องประเภทของเอกสารที่ชัดเจน [1] 


ด้วยความเคยชิน เราอาจนึกไม่ถึงว่าการใช้กระดาษเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้กระบวนการดำเนินงานล่าช้าและไม่เป็นระบบ ซึ่งการเลือกใช้เอกสารกระดาษทำให้หลายองค์กรมักพบปัญหาเหล่านี้




แต่ระบบ Workflow สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้



ระบบ Workflow พัฒนาโดย Storemesh เป็นระบบที่ทำให้กระบวนการจัดการเอกสารต่าง ๆ ขององค์กรเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาที่กล่าวไปข้างต้นได้ ด้วยราคาเริ่มต้นเพียง 500,000 บาท โดยองค์กรต้องเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรและเวลาสำหรับเรียนรู้การทำงานของระบบ เพื่อยกระดับหน่วยงานให้ก้าวเข้าสู่องค์กรดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ


ระบบ Workflow มีคุณสมบัติอะไร? เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างไรบ้าง?


การใช้ระบบ Workflow นั้น ทำให้องค์กรมีกระบวนการทำงานที่ชัดเจนและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยข้อมูลที่เป็นระบบและเต็มไปด้วยความปลอดภัย ไม่ต้องเสียเวลากับกระดาษกองโตอีกต่อไป 


ถึงเวลาเปลี่ยนวิธีการจัดการเอกสารขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ด้วยระบบจัดการกระแสงาน ‘Workflow’ จาก Storemesh 


หากสนใจหรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ

อีเมล: contact@storemesh.com 

หมายเลขโทรศัพท์: 02-147-0789


อ้างอิง

[1] “รายงาน ผลสำรวจระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย ประจำปี 2563.” [Online]. Available: https://www.dga.or.th/wp-content/uploads/2021/05/รายงานผลการสำรวจฯ-ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัล-ปี-2563-ภาษาไทย.pdf (accessed Nov. 01, 2022).


โดย : ภูษณิศา บุญเอนก